วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การแสดงทางวิทยาศาตร์ (Science Show)
1. เรื่องที่ 1 อัศวินพิชิตไขมัน
โดย 1. เด็กหญิงภคณัฐ อักษร
2. เด็กหญิงสุพรรษา ธรรมะ
3.เด็กหญิงพิลาสลักษณ์ ทองดี

2. มูลเหตุจูงใจ
สังเกตพบว่ามีคราบไขมันตกค้างในภาชนะที่รับประทานเมื่อนำไปล้างน้ำเปล่าไม่สามารถกำจัดไขมันที่ติดอยู่ได้ จึงศึกษาวิธีการกำจัดไขมัน

3. เนื้อหาโดยย่อ
เทน้ำเปล่าลงในแก้วแล้วใส่น้ำมันพืชจะทำให้เกิดการแบ่งชั้น จากนั้นก็เขย่าแก้วให้น้ำกับน้ำมันผสมเข้ากันก็จะเห็นได้ว่าน้ำกับน้ำมันไม่สามารถผสมกันได้แต่กลับแบ่งชั้นตามเดิม จากนั้นจึงเติมสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันผสมเข้ากันได้เรียกสารนี้ว่า อีมัลซิฟลายเออร์ แล้วเขย่าขวดใหม่อีกครั้งก็จะสามารถทำให้น้ำกับน้ำมันพืชเข้ากันได้ทำให้น้ำมันพืชนั้นหายไป

4. การนำหลักการวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้
ลิปิด (Lipid) คือ สารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากเนื้อเยื่อพืชและสัตว์ เป็นสารที่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นโมเลกุลโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ ตัวอย่าง ไขมัน น้ำมัน wax สเตอรอยด์
ไขมัน และน้ำมัน (Fat and oil) คือ สารอินทรีย์ประเภทลิปิดชนิดหนึ่ง มีสูตรทั่วไปดังนี้


อิมัลซิฟายเออร์ เป็นสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานให้อนุภาคของของเหลวสองชนิดที่ไม่ละลายซึ่งกันและกันรวมกันได้ เช่น
1. สบูและผงซักฟอก ทำให้เกิดคอลลอยด์ระหว่างน้ำกับน้ำมัน
2. ไข่แดง ทำให้เกิดคอลลอยด์ระหว่างน้ำมันพืช, น้ำส้มสายชู และน้ำ (น้ำสลัด)

5. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ภาชนะที่เราใช้ในชีวิตประจำวันจะมีคราบน้ำมันติดอยู่ให้ใช้น้ำยาล้างจานผสมกับน้ำแล้วล้างภาชนะจะสามารถกำจัดไขมันที่ติดอยู่ได้ หากไม่มีน้ำยาล้างจานก็สามารถใช้สารที่มีคุณสมบัติเดียวกัน ซึ่งได้แก่ น้ำสบู่ น้ำยาล้างจาน เป็นต้น นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคอื่นๆตามมาได้อีกด้วย

1. เรื่องที่ 2 ปีศาจน้ำอัดลม
2. มูลเหตุจูงใจ
สังเกตพบเด็กส่วนใหญ่ชอบซื้อน้ำอัดลมมาดื่มแล้วทำให้ฝันผุ และกระเพาะเป็นแผล จึงสนใจศึกษาโทษของการรับประทานน้ำอัดลม

3. เนื้อหาโดยย่อ
นำน้ำอัดลม ปริมาตร 1.25 ลิตร วางลงในกะละมังเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำอัดลมกระเด็นนำลูกอมเมนทอส จำนวน 5 เม็ด ใส่ลงในขวดน้ำอัดลมสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

4. การนำหลักการวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้
คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซในบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน 1 อะตอม และ ออกซิเจน 2 อะตอม ต่อหนึ่งโมเลกุล. คาร์บอนไดออกไซด์เป็นหนึ่งในสารประกอบเคมีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และมักเรียกด้วยสูตรเคมี CO2 คาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น ภูเขาไฟระเบิด การหายใจของสิ่งมีชีวิต หรือการเผาไหม้ของสารประกอบอินทรีย์ คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ เนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์ยังใช้สำหรับการผลิตน้ำอัดลมหรือโซดา
น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ มีคนนิยมดื่มมากและสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในร้านที่ขายเครื่องดื่ม นิยมบรรจุในรูปแบบกระป๋อง ขวดแก้ว ขวดพลาสติก น้ำอัดลมมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1. น้ำ น้ำนี้จะต้องเป็นน้ำสะอาด สามารถใช้น้ำประปา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากน้ำบาดาลที่ผ่านการกรองและฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน
2. น้ำตาล สารปรุงแต่งที่เรียกว่าหัวน้ำเชื้อ ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารที่ให้กลิ่นและสี
3. กรดคาร์บอนิก ซึ่งถูกอัดเข้าในภาชนะบรรจุ
กรดคาร์บอนิก ในภาชนะบรรจุเมื่อสัมผัสอากาศ จะแยกตัวเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับ น้ำ เป็นฟองที่เกิดขึ้นเวลาเปิดขวดหรือกระป๋อง การเขย่าก็เป็นการกระตุ้นปฏิกิริยาของกรดคาร์บอนิกให้เกิดเร็วขึ้นและมาก ขึ้น ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็เกิดมากขึ้นจนล้นภาชนะได้
ในส่วนของผิวลูกอมเมนทอสจะมี กัมอะราบิก (Arabic gum) ซึ่งเป็นยางของต้น Acacia ในการทดลองนั้น เราจะนำลูกอมเมนทอสใส่ลงไปในขวดน้ำอัดลมชนิดใดก็ได้ที่ไม่มีน้ำตาล เนื่องจากน้ำตาลเป็นตัวรบกวนการเกิดปฏิกิริยา เมื่อกัมอะราบิกที่ เคลือบอยู่ที่ผิวของเมนทอสสัมผัสกับน้ำอัดลมจะเกิดการทำปฏิกิริยากันขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกัมอะราบิกจะไปรบกวนแรงยึดเหนี่ยวระหว่างน้ำกับคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จับกันอยู่ในรูปของกรดคาร์บอนิก ทำให้แรงตึงผิวของของเหลว(น้ำอัดลม) ลดลง ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์สามารถหลุดจากโมเลกุลของน้ำได้มากขึ้น ความดันภายในขวดจึงมากขึ้น ทำให้สามารถดันให้ของเหลวที่อยู่ภายในพุ่งออกมาข้างนอกได้

5. การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดเข้าไปจะมีผลต่อการสลายแคลเซียมในร่างกายออกมามากขึ้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันและกระดูกจะผุได้ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะทำให้กระเพาะอาหารของเราเป็นแผลได้ ควรงดและหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม




















บรรณานุกรม
สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/48/2/team/page/s16.html
http://dictionary.reference.com/browse/Emulsion